Global Versions
เลือกตำแหน่งที่ตั้งของคุณ:

ประเทศ

กรุณาเลือกภาษา:
  • ภาษาไทย / Thai

ก้าวไปอีกขั้นกับระบบการจัดเก็บและขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของคุณ

Pichamon Pattanajiranun 30 สิงหาคม 2566
เวลาในการอ่าน: 4 นาที
โลจิสติกส์โซ่ความเย็นในยุคที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด

คุณพิชามญชุ์ พัฒนจิรานันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโลจิสติกส์และระบบโซ่ความเย็นของบริษัท Swisslog เล่าถึงการปรับตัวของ Cold Chain Logistics หรือระบบการจัดเก็บและขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิทั่วโลกว่า หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ต้องยอมรับว่าระบบห่วงโซ่ความเย็นมี 
การเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาด้านอุปสงค์ที่มากกว่าอุปทาน และคนส่วนใหญ่เริ่มหันมาบริโภคอาหารแช่เย็น แช่แข็ง และอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้น เพราะมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน รวมถึงปัญหาการขาดแคลนอาหารในบางช่วง โดยเฉพาะวัตถุดิบสดอย่างเช่น ไก่ ที่มีปริมาณไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ การจัดเก็บและการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทั้งในแง่ของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ตลอดจนสินค้าบางประเภทโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ที่ต้องอาศัยอุณหภูมิสำหรับการจัดส่งอย่างเหมาะสม เพื่อควบคุมคุณภาพของวัคซีนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจากแหล่งผลิตของประเทศต้นทางมายังประเทศปลายทาง ดังนั้น หากพิจารณาโดยรวมแล้ว หลายอุตสาหกรรมจำเป็นต้องพึ่งพาระบบขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโลจิสติกส์และห่วงโซ่อาหารทั้งหมด

 

ปฏิวัติคลังสินค้าของคุณ ด้วยโซลูชันอัตโนมัติที่ออกแบบได้    

คุณพิชามญชุ์ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันความต้องการในการจัดเก็บสินค้าแบบอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ส่งผลให้คลังสินค้ารูปแบบเดิมไม่สามารถรองรับปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยได้ จึงต้องมีการออกแบบคลังสินค้าให้สูงขึ้น โดยเทคโนโลยีจาก Swisslog สามารถช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าตามความต้องการของผู้ใช้งาน ด้วยโจทย์สำคัญที่ว่า จะทำอย่างไรให้สามารถจัดเก็บสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่เดิมทั้งในด้านความสูงและ Floor load ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างคลังสินค้าใหม่ที่ใช้พื้นที่ในแนวสูงเป็นหลัก โดยเฉพาะการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ ซึ่งต้องควบคุมอุณหภูมิภายในคลังสินค้าให้คงที่ และต้องคำนึงถึงความสมดุลกันของขนาดพื้นที่ ความสูงของคลังสินค้า และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง โดยการออกแบบระบบทำความเย็น (Refrigeration System) ในห้องควบคุมอุณหภูมิมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งต้องมั่นใจว่าสินค้าที่อยู่บนชั้นวางได้รับความเย็นอย่างทั่วถึง และเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ในขนาดเท่ากัน จะพบว่า คลังสินค้าแบบเดิม (Conventional warehouse) จะใช้พลังงาน หรือมีค่าไฟฟ้ามากกว่าแบบอัตโนมัติ (Automated warehouse) โดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการออกแบบระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ ได้แก่ ปริมาณสินค้าที่ต้องการจัดเก็บ ความสูงของพื้นที่ อุณหภูมิ ปริมาณสินค้าเข้าและสินค้าออก ซึ่ง Swisslog สามารถออกแบบคลังสินค้าได้จนถึงอุณหภูมิติดลบ -30 oC และความสูงถึง 45 เมตร ทำให้มีความยืดหยุ่นสำหรับการใช้งาน   

 

ความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย 

Swisslog ได้เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้เปิดเผยถึงตัวเลขการขยายตัวของอาหารและเครื่องดื่มในปี 2565 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 1.9-2.7 อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของประเทศไทยที่แตกต่างจากประเทศฝั่งยุโรป คือ สภาพอากาศที่ร้อนจัด หากระบบการจัดการในห้องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมาก (-25 oC) ไม่ดี อาจทำให้เกิดการควบแน่นของอากาศ จนทำให้เกิดความแปรปรวนของอุณหภูมิ นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติงานอาจเกิด ความเหนื่อยล้าส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง รวมถึงการทำงานในห้องแช่แข็งนั้น พนักงานไม่สามารถทำงานได้เต็มเวลา เนื่องจากสภาวะอากาศที่เย็นผิดปกติ ทำให้ต้องแบ่งช่วงเวลาการทำงาน และใช้คนมากกว่าเดิม ดังนั้น ระบบอัตโนมัติ จึงมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มพื้นที่จัดเก็บ เพิ่ม ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และลดการพึ่งพาแรงงานได้

 

Swisslog คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ  

Swisslog เราเป็นผู้ให้บริการระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse Solution) พร้อมซอฟต์แวร์อัจฉริยะในการบริหารคลังสินค้าได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ในอนาคตระบบคลังสินค้าอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และเริ่มปรับเปลี่ยนจากการหยิบสินค้าแบบพาเลท เป็นรูปแบบการหยิบสินค้าที่มีขนาดเล็กลงจนถึงเป็นชิ้น ซึ่งในต่างประเทศมีการนำระบบอัตโนมัติในการจัดเรียงสินค้าบนพาเลทมาปรับใช้แล้วสำหรับการหยิบสินค้าหลากหลายประเภทที่อยู่ในพาเลทเดียวกัน (Mix of SKU) รวมถึงคลังสินค้าอาจจะมีหลายระบบร่วมกัน ทั้งแบบพาเลทและแบบเป็นชิ้น (Picking) เนื่องจากโซลูชันเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศไทยอาจเริ่มจากการนำระบบขนถ่ายสินค้าอย่าง Pallet ASRS: Vectura ซึ่งเป็นเครนจัดเก็บพาเลทในแนวสูงที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน สามารถรองรับการทำงานได้ในทุกช่วงอุณหภูมิ รวมถึงส่งสินค้าได้หลากหลายประเภทตามความต้องการ จึงเหมาะกับประเทศไทยที่ส่วนใหญ่ส่งออกโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในอนาคต     

 

Swisslog เราเป็นผู้ให้บริการระบบคลังสินค้าอัตโนมัติชั้นนำระดับโลก และพร้อมที่จะร่วมมือกับบริษัทในประเทศไทย เพื่อยกระดับระบบการจัดเก็บและขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ ซึ่งเรามีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยก้าวแรกของผู้ผลิตไทยสามารถเริ่มต้นด้วยระบบอัตโนมัติขั้นพื้นฐานที่ใช้การลงทุนไม่สูงมากนัก และค่อยปรับเปลี่ยนเป็นคลังสินค้าอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (รุ่นที่ 4) หรือคลังสินค้าที่ขับเคลื่อนด้วยหุ่นยนต์ (รุ่นที่ 5) เช่นเดียวกับในยุโรปและสหรัฐอเมริกา 

 

ค้นหาแท็กทั้งหมด
Future Logistics E-Grocery White Paper Vlogs Design and Planning Video Sustainability Software Micro Fulfillment AutoStore Case Study Smart Cities Light Goods Pallet Automation Robotics Customer Service and Maintenance Vertical Farming
บทความถัดไป
Service & Software Loh Hao Torng 20 ธันวาคม 2567
Customer service – The human touch in automation

Discover the crucial role of skilled labor in warehouse automation. Learn how dedicated customer service teams manage and maintain cutting-edge systems.

คุณอาจสนใจบทความนี้