Global Versions
เลือกตำแหน่งที่ตั้งของคุณ:

ประเทศ

กรุณาเลือกภาษา:
  • ภาษาไทย / Thai

ก้าวไปอีกขั้นกับระบบการจัดเก็บและขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของคุณ

Pichamon Pattanajiranun 30 สิงหาคม 2566
เวลาในการอ่าน: 4 นาที
โลจิสติกส์โซ่ความเย็นในยุคที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด

คุณพิชามญชุ์ พัฒนจิรานันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโลจิสติกส์และระบบโซ่ความเย็นของบริษัท Swisslog เล่าถึงการปรับตัวของ Cold Chain Logistics หรือระบบการจัดเก็บและขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิทั่วโลกว่า หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ต้องยอมรับว่าระบบห่วงโซ่ความเย็นมี 
การเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาด้านอุปสงค์ที่มากกว่าอุปทาน และคนส่วนใหญ่เริ่มหันมาบริโภคอาหารแช่เย็น แช่แข็ง และอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้น เพราะมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน รวมถึงปัญหาการขาดแคลนอาหารในบางช่วง โดยเฉพาะวัตถุดิบสดอย่างเช่น ไก่ ที่มีปริมาณไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ การจัดเก็บและการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทั้งในแง่ของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ตลอดจนสินค้าบางประเภทโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ที่ต้องอาศัยอุณหภูมิสำหรับการจัดส่งอย่างเหมาะสม เพื่อควบคุมคุณภาพของวัคซีนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจากแหล่งผลิตของประเทศต้นทางมายังประเทศปลายทาง ดังนั้น หากพิจารณาโดยรวมแล้ว หลายอุตสาหกรรมจำเป็นต้องพึ่งพาระบบขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโลจิสติกส์และห่วงโซ่อาหารทั้งหมด

 

ปฏิวัติคลังสินค้าของคุณ ด้วยโซลูชันอัตโนมัติที่ออกแบบได้    

คุณพิชามญชุ์ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันความต้องการในการจัดเก็บสินค้าแบบอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ส่งผลให้คลังสินค้ารูปแบบเดิมไม่สามารถรองรับปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยได้ จึงต้องมีการออกแบบคลังสินค้าให้สูงขึ้น โดยเทคโนโลยีจาก Swisslog สามารถช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าตามความต้องการของผู้ใช้งาน ด้วยโจทย์สำคัญที่ว่า จะทำอย่างไรให้สามารถจัดเก็บสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่เดิมทั้งในด้านความสูงและ Floor load ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างคลังสินค้าใหม่ที่ใช้พื้นที่ในแนวสูงเป็นหลัก โดยเฉพาะการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ ซึ่งต้องควบคุมอุณหภูมิภายในคลังสินค้าให้คงที่ และต้องคำนึงถึงความสมดุลกันของขนาดพื้นที่ ความสูงของคลังสินค้า และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง โดยการออกแบบระบบทำความเย็น (Refrigeration System) ในห้องควบคุมอุณหภูมิมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งต้องมั่นใจว่าสินค้าที่อยู่บนชั้นวางได้รับความเย็นอย่างทั่วถึง และเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ในขนาดเท่ากัน จะพบว่า คลังสินค้าแบบเดิม (Conventional warehouse) จะใช้พลังงาน หรือมีค่าไฟฟ้ามากกว่าแบบอัตโนมัติ (Automated warehouse) โดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการออกแบบระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ ได้แก่ ปริมาณสินค้าที่ต้องการจัดเก็บ ความสูงของพื้นที่ อุณหภูมิ ปริมาณสินค้าเข้าและสินค้าออก ซึ่ง Swisslog สามารถออกแบบคลังสินค้าได้จนถึงอุณหภูมิติดลบ -30 oC และความสูงถึง 45 เมตร ทำให้มีความยืดหยุ่นสำหรับการใช้งาน   

 

ความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย 

Swisslog ได้เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้เปิดเผยถึงตัวเลขการขยายตัวของอาหารและเครื่องดื่มในปี 2565 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 1.9-2.7 อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของประเทศไทยที่แตกต่างจากประเทศฝั่งยุโรป คือ สภาพอากาศที่ร้อนจัด หากระบบการจัดการในห้องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมาก (-25 oC) ไม่ดี อาจทำให้เกิดการควบแน่นของอากาศ จนทำให้เกิดความแปรปรวนของอุณหภูมิ นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติงานอาจเกิด ความเหนื่อยล้าส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง รวมถึงการทำงานในห้องแช่แข็งนั้น พนักงานไม่สามารถทำงานได้เต็มเวลา เนื่องจากสภาวะอากาศที่เย็นผิดปกติ ทำให้ต้องแบ่งช่วงเวลาการทำงาน และใช้คนมากกว่าเดิม ดังนั้น ระบบอัตโนมัติ จึงมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มพื้นที่จัดเก็บ เพิ่ม ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และลดการพึ่งพาแรงงานได้

 

Swisslog คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ  

Swisslog เราเป็นผู้ให้บริการระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse Solution) พร้อมซอฟต์แวร์อัจฉริยะในการบริหารคลังสินค้าได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ในอนาคตระบบคลังสินค้าอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และเริ่มปรับเปลี่ยนจากการหยิบสินค้าแบบพาเลท เป็นรูปแบบการหยิบสินค้าที่มีขนาดเล็กลงจนถึงเป็นชิ้น ซึ่งในต่างประเทศมีการนำระบบอัตโนมัติในการจัดเรียงสินค้าบนพาเลทมาปรับใช้แล้วสำหรับการหยิบสินค้าหลากหลายประเภทที่อยู่ในพาเลทเดียวกัน (Mix of SKU) รวมถึงคลังสินค้าอาจจะมีหลายระบบร่วมกัน ทั้งแบบพาเลทและแบบเป็นชิ้น (Picking) เนื่องจากโซลูชันเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศไทยอาจเริ่มจากการนำระบบขนถ่ายสินค้าอย่าง Pallet ASRS: Vectura ซึ่งเป็นเครนจัดเก็บพาเลทในแนวสูงที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน สามารถรองรับการทำงานได้ในทุกช่วงอุณหภูมิ รวมถึงส่งสินค้าได้หลากหลายประเภทตามความต้องการ จึงเหมาะกับประเทศไทยที่ส่วนใหญ่ส่งออกโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในอนาคต     

 

Swisslog เราเป็นผู้ให้บริการระบบคลังสินค้าอัตโนมัติชั้นนำระดับโลก และพร้อมที่จะร่วมมือกับบริษัทในประเทศไทย เพื่อยกระดับระบบการจัดเก็บและขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ ซึ่งเรามีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยก้าวแรกของผู้ผลิตไทยสามารถเริ่มต้นด้วยระบบอัตโนมัติขั้นพื้นฐานที่ใช้การลงทุนไม่สูงมากนัก และค่อยปรับเปลี่ยนเป็นคลังสินค้าอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (รุ่นที่ 4) หรือคลังสินค้าที่ขับเคลื่อนด้วยหุ่นยนต์ (รุ่นที่ 5) เช่นเดียวกับในยุโรปและสหรัฐอเมริกา 

 

ค้นหาแท็กทั้งหมด
Pallet Automation Video Light Goods Sustainability Vlogs Robotics AutoStore Case Study Micro Fulfillment Customer Service and Maintenance Future Logistics Smart Cities Software White Paper Design and Planning E-Grocery Vertical Farming
บทความถัดไป
Food & Beverage Tim Mosier 13 พฤศจิกายน 2567
3 factors that reduce total cost of ownership for a deep-freeze pallet ASRS

The value and costs of a pallet ASRS solution over its lifespan can vary significantly based on the selected solution’s capabilities and reliability.

คุณอาจสนใจบทความนี้